ชื่อวิจัย
การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา (DEVELOPINGPRESCHOOL CHILDREN'S SCIENCE PROCESS SKILLS THROUGH PSYCHO-INTLLECTUAL MODELACTIVITV)
ปริญญานิพนธ์
จิตเกษม
ทองนาค
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา โดยรวมและจำแนกรายทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาสาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาแตกต่างกัน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ คือ
เด็กนักเรียนชาย – หญิง
ที่มีอายุ 4 – 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
25547 โรงเรียนวัดโตนด เขตภาษีเจริญ
สำกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
โดยการเลือกเด็กอายุ 4 – 5 ปี จากทั้งชั้นเรียนแล้วสุ่ม
เป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยการจับสลากเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน
15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
2. แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.77
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาคำสถิติพื้นฐาน ได้แก่
ค่าเฉลี่ย
และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาสาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา โดยใช้
t = test แบบ Dependent
สรุปผลการวิจัย
1. หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยรวม 6
ทักษะและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี
แตกต่างจากก่อนทดสอบ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2. หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
ทักษะการสังเกต การวัด การลงความเห็นและพยากรณ์แตกต่าง จากก่อนการทดลองอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ส่วนทักษะการจำแนกประเภทและการสื่อสาร
แตกต่างก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น