วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes  14



Study Notes  14
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
November 20, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  มีส่งสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์พร้อมกับการแยกประเภทของสื่อการสอน ดังนี้

-                  -   แรงลม (wind power)
-                  -   การหมุน (rotation)
-                  -   พลังงาน (energy)
-                  -   น้ำ (water)
-                   -  เสียง (sound)
-                   -  มุมเสริมประสบการณ์


งานวิจัยเรื่องที่  1 
ผู้วิจัย  ณัฐชุดา   สาครเจริญ
ปีที่วิจัยปีการศึกษา  2547


งานวิจัยเรื่องที่  2
ผู้วิจัย  พีระพร   รัตนาเกียรติ์
ปีที่วิจัยปีการศึกษา   2547


งานวิจัยเรื่องที่  3
เรื่อง   ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย


งานวิจัยเรื่องที่  4
ผู้วิจัย   อัจฉราภรณ์  เชื้อกลาง
ปีที่วิจัยปีการศึกษา   2545



กิจกรรมการทำวาฟเฟิล (Waffle)


อุปกรณ์ในการทำ
-                   -  แป้ง (flour)
-                   -  ไข่ (eggs)
-                  -  เนย (butter)
-                   -  เตา (stove) สำหรับทำ waffle
-                   -  ถ้วย (cup)
-                   -  จาน (plate)
-                   -  ช้อน (spoon)

-                   -  น้ำ (water)


ขั้นตอนการทำ
            1.   ครูเตรียมอุปกรณ์ในการทำและแบ่งอุปกรณ์เป็นชุด ๆ
            2.  ขอตัวแทนมาหยิกอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้ ครูบอกขั้นตอนการทำ (*ถ้าเป็นเด็กปฐมวันก็ต้องสาธิตให้ดู)
            3.  นำไข่ไก่ , น้ำและแป้งใส่ภาชนะ  แล้วตีผสมให้เข้ากัน4.
            4.  ตักใส่ถ้วยเล็ก ๆ แล้วแบ่งเพื่อนที่จะนำไปใส่เครื่องทำขนม
            5.  ทาเนยแล้วเทแป้งลงบนที่พิมพ์วาฟเฟิลไปข้างละ 1 ถ้วย/ครึ่ง
            6.  อบประมาณ  3 – 4  นาที  เพียงเท่านี้เราก็จะได้วาฟเฟิลแสนอร่อยแล้วววววว



วิธีทำวาฟเฟิลแสนอร่อย ^__^



สมาชิกในกลุ่ม "วาฟเฟิล"



วิธีการสอน  (Teaching  methods)

-   การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิด
-   การสอนที่ให้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
-   การสอนแบบอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม
-    การสอนแบบให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหา
-    การเรียนรู้ด้วยตัวเอง


ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-              -     สามารถนำการจัดกิจกรรมในงานวิจัยไปจัดให้เด็กปฐมวัยได้จริง  และยังนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ
-              -       จากกิจกรรมการทำวาฟเฟิลสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ แต่ต้องสาธิตการทำให้เด็กดูและให้เด็กลงมือทำเอง และครูเป็นผู้ที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด



การประเมิน  (Assessment)
ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกการนำเสนองานวิจัยของเพื่อน ๆ  กิจกรรมการทำวาฟเฟิล ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  มีความสนุกสนานการในกิจกรรม  ทำความสะอาดและเก็บอุปกรณ์เข้าที่อย่างเรียบร้อย
เพื่อน เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟัง  มีการตอบคำถามของอาจารย์  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่
อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากงานวิจัยที่เพื่อนหามานำเสนอและทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม ตอบ  และแปลกเปลี่ยนความคิดกัน  ในช่วงทำกิจกรรมวาฟเฟิลอาจารย์มีการจัดเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาและให้คำแนะนำจากการทำกิจกรรม







วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปจากการดูวีดีโอ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ตอน ทอร์นาโดมหาภัย



บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ตอน ทอร์นาโดมหาภัย
โดยน้อง ๆ จากโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทร์




           ก่อนที่จะมาทำการทดลอง  เราจะถามน้อง ๆ  ว่ารู้จักทอร์นาโดไหม   ทอร์นาโดเกิดขึ้นอย่างไร  และจากที่ให้น้อง ๆ ดูภาพทอร์นาโดแล้วน้อง ๆ สังเกตดูว่าทอร์นาโดมีลักษณะอย่างไร  จากนั้นเราก็จะมาจำลองให้ทอร์นาโดมาอยู่ในขวดน้ำ

อุปกรณ์
-                -   ขวดน้ำ  1  ขวด
-                -   ขวดน้ำที่ใส่น้ำเต็มขวด  1  ขวด
-                -   ข้อต่อระหว่างขวดน้ำ

ขั้นตอนการทำ
                ให้นำข้อต่อมาหมุนต่อกับขวดน้ำที่เต็มก่อน  พอหมุนจนแน่นแล้วให้นำขวดเปล่าอีกใบมาต่อเข้ากับข้อต่ออีกด้านที่เหลืออยู่  แล้วเราก็จะได้ขวดน้ำ  2  ใบ  เชื่อมต่อกัน

                จากการทดลองทำทอร์นาโดขวดน้ำ  เมื่อพลิกขวดน้ำและตั้งไว้เฉย ๆ  น้ำจะไม่ไหลลงมาที่ขวดข้างล่างแสดงว่าภายในขวดที่ดูว่างเปล่าจะมีอากาศอยู่  เรามองเห็นอากาศเหล่านี้ได้ในรูปของฟองอากาศ  แต่พอบีบขวดเปล่าด้านล่างจะสังเกตเห็นฟองอากาศลอยขึ้นไปบนขวดน้ำด้านบนพร้อมกับมีน้ำไหลลงมา  เมื่อบีบขวดน้ำด้านล่างอากาศจะออกแรงผลักขึ้นไปยังขวดด้านบนทำให้ขวดด้านล่างมีพื้นที่ว่างน้ำจึงไหลลงมาได้  สำหรับการเกิดทอร์นาโดในขวด  เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศผ่าน  “ตา”  ของน้ำ  วนขึ้นสู่ด้านบนน้ำที่หมุนจะไหลผ่านผิวด้านในขวดไปยังด้านล่าง  จึงจะเห็นลักษณะการหมุนของน้ำเหมือนทอร์นาโดนั่นเอง
                เราจะสังเกตเห็นเกลียวของน้ำวนลักษณะคล้ายทอร์นาโดได้ง่าย ๆ  เวลาเราปล่อยน้ำในอ่างให้ไหลลงท่อ

                

Study Notes  13


Study Notes  13
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
November 13, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


งานวิจัยเรื่องที่  1 
ผู้วิจัย  นางสาวจุฑารัตน์ วรรณศรียพงษ์
ปีที่วิจัยปีการศึกษา  2556


งานวิจัยเรื่องที่  2
ผู้วิจัย  ศศิพรรณ สำแดงเดช
ปีที่วิจัยปีการศึกษา   2553


งานวิจัยเรื่องที่  3
ผู้วิจัย   ชยุดา พยุงวงษ์
ปีที่วิจัยปีการศึกษา   2551


งานวิจัยเรื่องที่  4
ผู้วิจัย   ยุพาภรณ์ ชูสาย


งานวิจัยเรื่องที่  5
ผู้วิจัย   ชนกพร   ธีระกุล
ปีที่วิจัยปีการศึกษา   2541


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
-   ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดระหว่างนำเสนอ
-   การสอนแบบอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม
-    การสอนแบบให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหา
-    การเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-    สามารถนำวิจัยไปส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้
 -    สามารถนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
-    สามารถนำวิจันประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

การประเมิน  (Assessment)
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกการนำเสนองานวิจัยของเพื่อนๆ
เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟัง  มีการตอบคำถามของอาจารย์

อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากงานวิจัยที่เพื่อนหามานำเสนอและทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม ตอบ  และแปลกเปลี่ยนความคิดกัน







วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย (PESEARCH)


ชื่อวิจัย

ปริญญานิพนธ์
                จิตเกษม     ทองนาค

ความมุ่งหมายของการวิจัย
             1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา  โดยรวมและจำแนกรายทักษะ
             2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาสาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา

สมมติฐานในการวิจัย
                เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา  มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลัง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาแตกต่างกัน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้  คือ  เด็กนักเรียนชาย – หญิง  ที่มีอายุ  4 – 5 ปี  ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่  1  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  25547  โรงเรียนวัดโตนด  เขตภาษีเจริญ  สำกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร  โดยการเลือกเด็กอายุ  4 – 5 ปี  จากทั้งชั้นเรียนแล้วสุ่ม  เป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยการจับสลากเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลอง  จำนวน  15  คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
2. แบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  =  0.77

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาคำสถิติพื้นฐาน  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาสาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา  โดยใช้  t = test  แบบ  Dependent
 สรุปผลการวิจัย
1.    หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา  เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยรวม  6  ทักษะและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี  แตกต่างจากก่อนทดสอบ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น

2.     หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  ทักษะการสังเกต  การวัด  การลงความเห็นและพยากรณ์แตกต่าง  จากก่อนการทดลองอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ส่วนทักษะการจำแนกประเภทและการสื่อสาร  แตกต่างก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05