วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes  9

Study Notes  9
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
October 16, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


การนำเสนอ สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

ชื่อสิ่งประดิษฐ์  แก้วกระโดด

แก้วกระโด

อุปกรณ์ที่ใช้
-                   -  แก้วพลาสติก 2 ใบ
-                   -  ไหมพรม  1 เส้น
-                   -  ถุงพลาสติก, กรรไกร, เทปกาว

ขั้นตอนการประดิษฐ์
-                   -  ติดปลายเชือกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านนอกของก้นแก้วใบแรก โดยใช้เทปกาว
-                   -  ติดปลายเชือกอีกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านในของก้นแก้วใบที่สอง โดยใช้เทปกาว
-                   -  ใช้กรรไกรตัดถุงพลาสติกเป็นริ้วยาว ความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร
-                   -  ใช้เชือกผูกริ้วพลาสติก รัดให้เป็นระยะๆ พองาม


ขั้นตอนการทำ


วิธีการเล่น
-                   -  ถือแก้วใบที่สองไว้ในมือ (ใบที่มีเชือกติดอยู่ที่ด้านในของก้นแก้ว)
-                   -  ใช้มือจับสายเชือกพร้อมริ้วพลาสติก ใส่ลงไปในแก้วใบที่สอง แล้วใช้แก้วใบแรก วางซ้อนลงไปจนมิด

วิธีการเล่น


วิธีทำกิจกรรม
-                   -  ใช้ปากเป่าลมแรงๆ ระหว่างปากแก้วทั้งสอง แก้วใบที่อยู่ด้านในจะกระโดดออกมาข้างนอก พร้อมกับดึงเชือกและริ้วพลาสติกตามออกมาด้วย

วิธีการทำกิจกรรม

-                    
เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราเป่าลมลงในแก้ว

-                   -  อากาศจะวิ่งเข้าไปสู่พื้นที่ว่างระหว่างแก้วทั้งสองใบ ทำให้แรงกดดันอากาศภายใน สูงกว่าแรงกดดันอากาศภายนอก ทำให้ผลักแก้วที่อยู่ภายในกระเด็นออกมาได้


ผลงานที่เพื่อน ๆ ได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

ผลงานของเพื่อน ๆ 


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
-                   -  การนำเสนอ
-                   -  การประดิษฐ์สิ่งของทางวิทยาศาสตร์
-                   -  ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด
-                   -  การยกตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
-                   -  การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-                   -  การอภิปราย


ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-                   -  เด็กจะสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
-                   -  เด็กจะได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องแรงลมอากาศ
-                   -  ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  โดยการนำของที่เหลือใช้หรือไม่ใช้แล้วนำกลับมาเป็นสิ่งประดิษฐ์


การประเมิน  (Assessment)
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  เตรียมความพร้อมการนำเสนอโดยการช่วยกันจัดโต๊ะการออกไปนำเสนอมีการตื่นเต้นมาก  แต่ก็ผ่านไปด้วยดี
เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ไม่คุยขณะขณะที่เพื่อนนำเสนอ  มีความคิดที่สร้างสรรค์ในการคิดสิ่งประดิษฐ์ที่หลากหลาย
อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  คอยให้คำแนะนำในการเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่ให้สอดคล้องกับวิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น