วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes  10

Study Notes  10
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
October 18, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


*หมายเหตุ  ในวันนี้ได้มีการเรียนชดเชยเนื่องจากวันที่  23  ตุลาคม  2557  เป็นวันหยุดราชการตรงกับวันปิยมหาราช  ซึ่งได้จัดการเรียนการสอนขึ้นในวันที่  18  ตุลาคม 2557 นี้


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้  อาจารย์ได้ให้ความรู้และอธิบายการเขียน “แผนการจัดประสบการณ์”  เป็นกลุ่มร่วมกันคิดเสนอ Mind Map  ของแต่ละกลุ่ม แล้วอาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่มเติมในเนื้อหาที่ยังไม่ครบและให้นักศึกษานำไปแก้ไข

Mind Map เรื่องต้นไม้


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
-   ทักษะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
-   ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-    การบูรณาการ
-    การเชื่อมโยงเนื้อหา
-    ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-  สามารถนำความรู้มาฝึกเขียนแผนการสอนและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กได้
-  สามารถนำมาบูรณาการกับวิชาอื่นได้
-  สามารถสร้างแผนการจัดประสบการณ์ที่มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมเด็กให้ครบทุกด้าน

การประเมิน  (Assessment)
          ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนภายในกลุ่ม  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนอย่างถูกต้อง
         เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ไม่คุยขณะที่อาจารย์อธิบายการเขียนแผน เพื่อน ๆ ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ได้ตอบคำถามโดยมีหารคิดวิเคราะห์
        อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  อาจารย์ได้มีการกระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเขียนแผนการสอน  เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามและแสดงความคิดเห็น





วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes  9

Study Notes  9
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
October 16, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


การนำเสนอ สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

ชื่อสิ่งประดิษฐ์  แก้วกระโดด

แก้วกระโด

อุปกรณ์ที่ใช้
-                   -  แก้วพลาสติก 2 ใบ
-                   -  ไหมพรม  1 เส้น
-                   -  ถุงพลาสติก, กรรไกร, เทปกาว

ขั้นตอนการประดิษฐ์
-                   -  ติดปลายเชือกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านนอกของก้นแก้วใบแรก โดยใช้เทปกาว
-                   -  ติดปลายเชือกอีกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านในของก้นแก้วใบที่สอง โดยใช้เทปกาว
-                   -  ใช้กรรไกรตัดถุงพลาสติกเป็นริ้วยาว ความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร
-                   -  ใช้เชือกผูกริ้วพลาสติก รัดให้เป็นระยะๆ พองาม


ขั้นตอนการทำ


วิธีการเล่น
-                   -  ถือแก้วใบที่สองไว้ในมือ (ใบที่มีเชือกติดอยู่ที่ด้านในของก้นแก้ว)
-                   -  ใช้มือจับสายเชือกพร้อมริ้วพลาสติก ใส่ลงไปในแก้วใบที่สอง แล้วใช้แก้วใบแรก วางซ้อนลงไปจนมิด

วิธีการเล่น


วิธีทำกิจกรรม
-                   -  ใช้ปากเป่าลมแรงๆ ระหว่างปากแก้วทั้งสอง แก้วใบที่อยู่ด้านในจะกระโดดออกมาข้างนอก พร้อมกับดึงเชือกและริ้วพลาสติกตามออกมาด้วย

วิธีการทำกิจกรรม

-                    
เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราเป่าลมลงในแก้ว

-                   -  อากาศจะวิ่งเข้าไปสู่พื้นที่ว่างระหว่างแก้วทั้งสองใบ ทำให้แรงกดดันอากาศภายใน สูงกว่าแรงกดดันอากาศภายนอก ทำให้ผลักแก้วที่อยู่ภายในกระเด็นออกมาได้


ผลงานที่เพื่อน ๆ ได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

ผลงานของเพื่อน ๆ 


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
-                   -  การนำเสนอ
-                   -  การประดิษฐ์สิ่งของทางวิทยาศาสตร์
-                   -  ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด
-                   -  การยกตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
-                   -  การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-                   -  การอภิปราย


ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-                   -  เด็กจะสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
-                   -  เด็กจะได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องแรงลมอากาศ
-                   -  ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  โดยการนำของที่เหลือใช้หรือไม่ใช้แล้วนำกลับมาเป็นสิ่งประดิษฐ์


การประเมิน  (Assessment)
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  เตรียมความพร้อมการนำเสนอโดยการช่วยกันจัดโต๊ะการออกไปนำเสนอมีการตื่นเต้นมาก  แต่ก็ผ่านไปด้วยดี
เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ไม่คุยขณะขณะที่เพื่อนนำเสนอ  มีความคิดที่สร้างสรรค์ในการคิดสิ่งประดิษฐ์ที่หลากหลาย
อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  คอยให้คำแนะนำในการเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่ให้สอดคล้องกับวิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 8

Study Notes 8
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
October 9, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  หยุดช่วงสอบกลางภาค วันที่  6 – 12  ตุลาคม  2557









วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 7

Study Notes 7
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
October 2, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้  อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมแกนกระดาษทิชชูมา   2  คน ต่อ  1 อัน   จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษสีชมพูให้นักศึกษาตัดแบ่งกัน  จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลงมือทำสิ่งประดิษฐ์

ชื่อกิจกรรม   ปลาน้อยลอยเชือก

อุปกรณ์
                 1.  แกนกระดาษทิชชู
                 2.  กระดาษ A4
                 3.  ไหมพรม
                 4.  กาว
                 5.  กรรไกร
                 6.  ตุ๊ดตู่ (ที่เจาะกระดาษ)

ขั้นตอนการทำ

1.  นำแกนกระดาษทิชชู


2.  เจาะรูตรงกึ่งกลางแกนกระดาษทิชชูทั้ง  2  ข้าง


3.  นำกระดาษที่เตรียมไว้มาตัดเป็นวงกลม แล้วให้วาดรูปอะไรก็ได้  แล้วตกแต่งให้สวยงาม


4.  นำกระดาษที่ตกแต่งเสร็จมาติดกับแกนกระดาษทิชชู


5.  นำเชือกไหมพรมมาร้อยตรงที่เจาะไว้ทั้ง  2  ข้าง  แล้วมัดให้เรียบร้อย


จากนั้นเป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน ๆ
นางสาวดาริกา  แก้วผัด
บทความเรื่อง  สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ดและ ไก่”  CICK
นางสาวกานดา  ไชยพันนา
บทความเรื่อง   จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทย์ เรียนสนุก นั่งลุกสบาย ได้ความรู้  CICK
นางสาวกาญจนา  ธนารัตน์
บทความเรื่อง  บทความส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก  CICK
นางสาวจารุวรรณ  ปัตตัง
บทความเรื่อง  สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)  CICK
นางสาวนันทวดี  นาสารีย์
บทความเรื่อง  สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about Weather)  CICK


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
-  การใช้คำถามปลายเปิด
-  การเรียนรู้ด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติจริง
-  การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์
-  การใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนรู้และการอภิปรายเนื้อหา


ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-  สามารถนำสื่อที่ประดิษฐ์ไปใช้กับเด็กได้
-  จากกิจกรรมที่ประดิษฐ์ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถนำกิจกรรมนี้ไปสอนเด็กปฐมวัยได้
-  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี

                 
การประเมิน (Assessment)
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ภายในห้องเรียนตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์ ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนค่อยจดบันทึกที่สำคัญ
เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ไม่คุยขณะอาจารย์สอน  มีการแสดงความคิดเห็นในการเรียนได้ดีมาทำให้การเรียนสนุกสนานไม่เครียด  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียน
อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น