วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 6

Study Notes 6
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
September 25, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยแจกกระดาษสีชมพู  1  แผ่น  ตัดแบ่งกัน
อุปกรณ์
   -  กระดาษ  A4  
   -  คลิปหนีบกระดาษ
   -  กรรไกร

ขั้นตอนการทำ



 1. ตัดกระดาษให้เท่า ๆ  กัน




          2. พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน / พับกระดาษที่ตัด 1 ใน 4 ส่วน


 

              3.  แถวที่ 1 – 2  ให้ใช้กรรไกรตัดกึ่งกลางลงมาถึงส่วนครั่งที่เราพับไว้  แถวที่ 3 – 4 ให้ใช้กรรไกรตัดกระดาษ 1 ใน 4 ส่วน




     4.   พับจากข้างล่างขึ้นมาประมาณ ครึ่งเซนติเมตร




              5.  แล้วเอาที่คลิปหนีบกระดาษ หนีบไว้ตรงที่พับครึ่งเซนติเมตรด้านล่าง
  
       การทดลองทำกิจกรรม
            ทุกคนในห้องได้ออกไปโยนหน้าห้อง  จะสังเกตได้ว่าผลของการโยนของเพื่อน ๆ  แถวที่ 1 – 2  จะหมุนดี ตกลงช้า  และหมุนได้อย่างชัดเจน  แต่แถวที่ 3 – 4  ซึ่งตัดกระดาษ 1 ใน 4 ส่วน  กลับตกเร็ว  การหมุนไม่ชัดเจน  และแถว 3 – 4  ได้กลับไปตัดให้เหมือนแถวที่ 1 – 2 ผลปรากฏว่าจะหมุนได้ช้าและการหมุนจะชัดเจนมากขึ้น

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ส่ง Mind map  หน่วยต่าง ๆ  ที่จะนำไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย  และยังอาจารย์ให้คำแนะเกี่ยวกับการเขียน Mind map เวลาเขียนต้องเขียนวนขวา และเรียบเรียงหัวข้อสำคัญก่อนและให้เพิ่มข้อมูลข้อแก้ไขให้แต่ละกลุ่มนำไปแก้ไข


 ช่วงอธิบาย  Mind  Map  ในหน่วยต่าง ๆ





กลุ่มของพวกเรา เรื่องต้นไม้  (Trees)




สรุป Mind  Map  เรื่องต้นไม้  (Trees)




จากนั้นเป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน ๆ
1. นางสาวพัชราภา    บุญเพิ่ม
บทความเรื่อง  แสงกับชีวิตประจำวัน  CICK
2. นางสาวรัชดาภรณ์   นันบุญมา             
บทความเรื่อง  เงามหัศจรรยต่อสมอง   CICK
3. นางสาวฐิติมา     บำรุงกิจ
บทความเรื่อง   สอนลูกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   CICK
4. นางสาวเนตรยา    เนื่องน้อย
บทความเรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   CICK
5. นางสาวจิตราภรณ์    นาคแย้ม
บทความเรื่อง  การทอลองทางวิทยาศาสตร์   CICK


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
                การสอนแบบได้รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ ตอนที่ทำกิจกรรมอาจารย์ยังไม่บอกว่าจะทำอะไร บอกแค่วิธีการทำแล้วให้นักศึกษาออกมาทำให้เพื่อนดูหน้าห้องสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสงสัย เกิดคำถาม จนเกิดการเรียนรู้แล้วอาจารย์ก็จะบอกรายละเอียดเนื้อหาอีกครั้ง และได้อธิบายเกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้ให้คำแนะนำแล้วนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-                   -  จากกิจกรรมที่ประดิษฐ์ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถนำกิจกรรมนี้ไปสอนเด็กปฐมวัยได้
-                  -   สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี
-                    
การประเมิน (Assessment)
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ภายในห้องเรียนตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์และสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งของประดิษฐ์ที่ทำขึ้น  ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนค่อยจดบันทึกที่สำคัญ
เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ไม่คุยขณะอาจารย์สอน  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนและตอบคำถามอาจารย์
อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสรุปถึงการคิดหัวข้อในหน่วยการเรียนต่างๆ ให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น







วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 5

Study Notes 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
September 18, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยแจกกระดาษสีชมพู  1  แผ่น  ตัดแบ่งครึ่ง  4  คน 
อุปกรณ์
-                   - กระดาษ  A4  
-                   - ไม้เสียบลูกชิ้น
-                   - สี
-                   - เทปกาว
-                   - กรรไกร
ขั้นตอนการทำ
-                   - แบ่งกระดาษสีชมพู  1  แผ่น  ตัดแบ่งครึ่ง  4  คน  แล้วพับครึ่ง
-                   - วาดรูปที่สัมพันธ์กันในแต่ละด้าน
-                   - เสร็จแล้วเอาเทปกาวติดไม้เสียบลูกชิ้นกับกระดาษไว้ตรงกลาง  แล้วเอาเทปกาวติดกระดาษ
                       ทั้ง  2 ด้านเข้าหากัน  แล้วหนุมจะเห็นได้ว่ารูปทั้ง 2 ด้าน  มีความสัมพันธ์กัน





จากนั้นเป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน ๆ
นางสาวแสงระวี   ทรงไตรย์
บทความเรื่อง   เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษาผ่านโครงงานปฐมวัย     ข้อมูลเพิ่มเติม  CICK
นางสาวศุภาวรรณ   ประกอบกิจ
บทความเรื่อง  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?    ข้อมูลเพิ่มเติม  CICK
นางสาวศิราลักษณ์   คาวินวิทย์
บทความเรื่อง  บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์    ข้อมูลเพิ่มเติม  CICK


เพลงวิทยาศาสตร์





สรุป VDO ความลับของแสง
                แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นน้ำทะเล  จะเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก  นอกจากนั้นแสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วมากตั้ง  300,000  กิโลเมตร/วินาที  ซึ่งถ้าเราวิ่งได้เท่าแสงเราจะวิ่งรอบโลกได้  7  รอบ/วินาที
ตัวอย่างการทดลอง
                เราลองหากล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิด  1  ใบ  เจาะรูข้าง ๆ กล่อง 1 รู  แล้วนำสิ่งของต่าง ๆ  มาใส่ในกล่อง  เช่น  ตุ๊กตา  หลังจากนั้นลองปิดฝากล่องแล้วมองไปในรูที่เราเจาะไว้เราจะมองสิ่งของที่อยู่ข้างในเห็นเพราะว่ามันมืด  จากนั้นค่อย ๆ เปิดฝากล่องออกแล้วดูใหม่คราวนี้เราจะมองเห็นสิ่งของแล้ว  จากนั้นก็ปิดฝาลงแล้วรูเพิ่มอีก 1 รู  แล้วเอาไฟฉายไปส่องที่รูเจาะใหม่  แล้วลองดูอีกทีเราจะสามารถมองเห็นสิ่งของได้เช่นกัน  ที่เรามองเห็นวัตถุรอบตัวได้ก็เพราะแสงส่องลงมาโดนวัตถุต่าง ๆ  แต่สาเหตุที่เรามองเห็นวัตถุรอบ ๆ  ตัว  นอกจากแสงที่ส่องลงมาโดนวัตถุแล้วแสงยังจะต้องสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้ามาสู่ตาของเราด้วย  เราจะมองเห็นวัตถุนั้นได้ซึ่งเท่ากับว่าตาเราก็คือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุ




วิธีการสอน  (Teaching  methods)
                การสอนแบบใช้คำถามปลายเปิด  ถาม-ตอบ  เพื่อนกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดและวิเคราะห์การหาคำตอบในคำถามนั้นๆ และจะทำให้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักศึกษาอีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-                   -  นำความรู้ที่ได้มาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
-                   -  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการดู  VDO  เรื่องความลับของแสง  มาประยุกต์ใช้กับเด็กโดยการให้เด็กได้ทดลองและลงมือกระทำ

การประเมิน (Assessment)
ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ภายในห้องเรียนตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนค่อยจดบันทึกที่สำคัญ
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเรียบ  ไม่คุยขณะอาจารย์สอน  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนและตอบคำถามอาจารย์
อาจารย์  เข้าสอนตรงต่อเวลา  ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น







วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 4

Study Notes 4
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
September 11, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.



การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)
                สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ในการสอนในอนาคตได้

วิธีการสอน  (Teaching  methods)
แนวการสอนแบบบรรยายมีภาพประกอบ โดยใช้ Power Point  และแบบถาม – ตอบ เพื่อให้เด็กฝึกการคิดและวิเคราะห์

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-  เข้าใจทักษะทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

-  ได้รู้จักแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


Study Notes 3

Study Notes 3
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     suksamran
September 04, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.




การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)
1.             -  สามารนำไปจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมจากทฤษฎีให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก และส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก
2.             -  เรียนรู้ธรรมชาติของเด็กและนำไปใช้ประโยชน์ เช่น จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสรมและสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก

วิธีการสอน  (Teaching  methods)
                แนวการสอนแบบบรรยาย โดยใช้ Power Point  และแบบถาม – ตอบ เพื่อให้เด็กฝึกการคิดและวิเคราะห์

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-          -  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 3-5 ปี

-          -  ได้รู้จักการเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง


วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 2

Study Notes 2
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
August 28, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


หมายเหตุ*
                 วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากไปดำเนินการเรื่องสัมภาษณ์ กยศ.


และดิฉันได้สรุปการเรียนการสอนจาก นางสาวสรัลชนา  ทรงรูป

สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)     
                พัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด ร่างกาย อารม สังคม จิตใจ และภาษา ที่เป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
                พัฒนาการทางสติปัญญา คือการใช้ปราสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ้งเป็นเครื่องมือในกรรับรู้ เมื่อมีการรับรู้แล้ว การรับรู้ จะไปอยู่ในสมอง และจะเกิดการซึมซับ
                รับรู้        =             ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
                เรียนรู้    =             เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
                การรู้พัฒนาการของเด็ก จะบอกความสามารถของเด็ก เพื่อการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก อย่างเหมาะสม จะทำให้เด็กมีคุณภาพทางพัฒนาการที่ดี
                วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบๆตัวเรา (ทุกสิ่งในโลกรวมถึงตัวเราเอง) ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ คณิตศาสตร์ และภาษา
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก
1.              จะเกิดการปิดกั้น การเรียนรู้ของเด็ก
2.              ไม่สนใจกับการคนพบของเด็ก
3.              ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก     

วิธีการสอน  (Teaching  methods)
การเรียนการสอนแบบ การถาม – ตอบ โดยมีสื่อการสอนคือ PowerPoint เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิดและวิเคราะห์

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)

-                  -    สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก