วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Study Notes  16


Study Notes  16
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
December 4,2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้นำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

งานวิจัยเรื่องที่  1
ผู้วิจัย   นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์

ตัวอย่างการทำกิจกรรม  
กิจกรรม ไข่หมุน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อฝึกการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างการหมุนของไข่
2.เพื่อฝึกให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเพื่อนและครู
วัสดุอุปกรณ์
1.ไข่ต้มแล้ว กับ ไข่ยังไม่ได้ต้ม
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการทดลอง
ขั้นนำ
1.ให้เด็กหาพื้นที่ให้กับตัวเอง
2. จัดเด็กเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 คน
ขั้นสอน
1.เด็กๆสังเกตไข่ 2 ฟอง ใบหนึ่งไข่สุก อีกใบหนึ่งไข่ดิบ
2.เปรียบเทียบไข่ 2 ฟองว่าแตกต่างกันอย่างไร
3.นำไข่ทั้ง 2 ฟองไปตั้งที่พื้นแล้วทดลองหมุนไข่
4.สังเกตความแตกต่างแล้วบันทึก
ขั้นสรุป
1.เด็กและครูสรุปร่วมกันเกี่ยวกับไข่หมุน
การประเมินผล
1.สังเกตดูเมื่อเด็กๆ ทำกิจกรรมการเคลื่อนที่ของไข่หมุน


กิจกรรมในวันนี้        
           อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาทุกคน  และให้จับกลุ่ม 5 คน ออกแบบแผ่นพับโรงเรียนของตัวเอง  ในเรื่องหน่วย ต้นไม้  (tree)  โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยให้เด็กนำไม้ไอศครีม  (Ice cream)  มาคนละ  10  แท่ง 






กิจกรรมสารสัมพันธ์ระหว่าง  ครู  โรงเรียน  บ้าน เป็นกิจกรรมของห้องเรียนเพื่อชี้แจงกิจกรรม และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยขอความร่วมมือให้เด็กเตรียมอุปกรณ์ที่ครูกำหนดมาใช้ในการทำกิจกรรม  ในส่วนท้ายมีกิจกรรมเล่นกับลูกในหน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและเด็กจะได้รับทักษะการสังเกต การจำแนก เป็นต้น


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
-   ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดระหว่างนำเสนอ
-   การสอนแบบอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม
-    การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
-    การขยายความหมายจากคำหรือประโยคที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย
-    การอธิบายอย่างละเอียดก่อนให้ทำกิจกรรม

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-    สามารถนำวิจัยไปส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้
 -    สามารถนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
-    สามารถนำวิจัยประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
-    สามารถทำแผ่นพับเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมจริง
-    การขอความร่วมมือผู้ปกครองจะใช้ในแต่ละกิจกรรมที่ครูไม่สามารถหาได้

การประเมิน  (Assessment)
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกการนำเสนองานวิจัยของเพื่อนๆ  
เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟัง  มีการตอบคำถามของอาจารย์ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนระหว่างการทำงาน  ช่วยกันทำงานกลุ่มเป็นดี
อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากงานวิจัยที่เพื่อนหามานำเสนอและทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม ตอบ  และแปลกเปลี่ยนความคิดกัน








       

Study Notes  15


Study Notes  15
Science Experiences Management for Early Childhood
Miss. Jintana     Suksamran
November 27, 2014
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
                การเรียนการสอนในวันนี้นำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

งานวิจัยเรื่องที่  1 
ผู้วิจัย   จุฑามาศ เรือนก๋า
             ทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านประสาทสัมผัส มี 4 ทักษะ
          - การสังเกต    (observation)
          - การจำแนก   (decomposition)
          - การวัด           (measurement)
          - มิติสัมพันธ์    (dimensions)

งานวิจัยเรื่องที่  2
ผู้วิจัย   ศรีนวล รัตนานันท์
             ทักษะทางวิทยาศาสตร์    
-การสังเกต  
-การประมาณ  
-การเปลี่ยนแปลง

งานวิจัยเรื่องที่  3
ผู้วิจัย   สมคิด  ศรไชย


งานวิจัยเรื่องที่  4

เรื่อง  ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก
           ทักษะทางวิทยาศาสตร์  
-การสังเกต
-การจำแนก
-การวัด
-การสื่อความหมาย  
-การลงความเห็น  
-มิติสัมพันธ์


การนำเสนอโทรทัศน์ครู






บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปลี


นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย 




บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเรื่อง  ความลับของใบบัว


วิธีการสอน  (Teaching  methods)
-   ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดระหว่างนำเสนอ
-   การสอนแบบอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม
-    การสอนแบบให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหา
-    การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
-    การใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน
-    การขยายความหมายจากคำหรือประโยคที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
-    สามารถนำวิจัยไปส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้
 -    สามารถนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
-    สามารถนำวิจันประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

การประเมิน  (Assessment)
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกการนำเสนองานวิจัยของเพื่อนๆ  นำเสนอบ้านนักวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่
เพื่อน  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟัง  มีการตอบคำถามของอาจารย์

อาจารย์  :  เข้าสอนตรงต่อเวลา  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากงานวิจัยที่เพื่อนหามานำเสนอและทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม ตอบ  และแปลกเปลี่ยนความคิดกัน